กฎหมายที่สรรพากร กำลังแก้เรื่อง ภาษีเงินได้จากต่างประเทศ

กฎหมายที่สรรพากร กำลังแก้เรื่อง ภาษีเงินได้จากต่างประเทศ


เราไม่แน่ใจว่าครอบคลุมถึง บริษัท ด้วยหรือไม่ หรือแค่บุคคลธรรมดา


มันยังมี บริษัท ที่เปิดในประเทศที่มีสิทธิประโยชน์ภาษีต่ำหรือ ภาษีนิติบุคคลเป็น 0 อีกนะครับ


การจะเปิดบริษัท ในประเทศต่างๆ ได้นั้น เราต้องศึกษา หรือถาม ผู้รู้กฎหมายครับ


คือหากเศรษฐกิจ ภายในประเทศไม่ค่อยสู้ดี สมมตินะครับ ทางเลือกของผมจะเป็น


1. ใช้บริษัท ที่ผมมีอยู่แล้ว ขายบริการไปต่างประเทศ

- เงินได้ โอนเข้าบัญชีธนาคาร ที่ต่างประเทศ เสียภาษี ตามที่แต่ละประเทศกำหนด


2. เปิดบริษัท ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือประเทศที่ยกเว้นภาษีนิติบุคคล

- เงินได้เก็บลงทุนต่อในประเทศนั้นๆ


เราสังเกตุกันมั๊ย บริษัท ต่างๆ หรือแบรนด์ มักมีบริษัท อยู่ในประเทศบางประเทศ


บางแบรนด์ อาจโตมาจากประเทศหนึ่ง แล้วเปิดบริษัท ในอีกประเทศอื่นๆ ที่พบมากสุดเวลาผมทำงานกับเจ้าของกิจการ หรือพันธมิตร ที่เป็นแบรนด์จากต่างชาติ พบว่า มีบริษัท ที่ฮ่องกง, อเมริกา, จีน, ไทย, และ ประเทศอื่นๆ


ส่วนระบบขายของออนไลน์ (E-Commerce) ที่ผมให้บริการ เปิดให้เช่าระบบรายเดือน รายปี เพราะผมลืม ประเด็นนี้ เลยไม่ค่อยได้โปรโมท คือ หากใช้บริษัท ในสิงค์โปร หรือ บางประเทศ ค่า transaction fee จะเป็น 0% 


ส่วนระบบอื่นๆ ในมือของผม ที่ค่า transaction fee เป็น 0% ไม่จำกัดประเทศ ผมก็มีครับ ก็ยังไม่ค่อยได้โปรโมทครับ การรับทำเว็บขายของออนไลน์ ค่า transaction fee 0% เท่าไหร่นักครับ


ถามทำไมระบบ E-Commerce บางระบบมีค่าธุรกรรม (transaction fee) เราต้องคิดถึงว่า รายได้เขามาจากอะไรครับ คือ มาจากการขายผ่านระบบ และรายได้ค่าเช่าระบบรายเดือน รายปี ตัวของบริษัท ไม่ใช่ ระบบตลาดกลางค้าขายออนไลน์ (E-Market place) แต่เป็นระบบขายออนไลน์ แบบที่เป็นระบบของตนเอง (Own Channel) เป็นเว็บไซต์แยกให้เช่าใช้ โดยที่เขาไม่ได้บอกที่หน้าขายแผนบริการ ว่าเขามีรายได้จากค่าธรรมเนียม การใช้ช่องทางชำระเงินครับ โดยที่ ช่องทางชำระเงิน เขาก็ใช้เป็นแบบ แบรนด์ของตนเอง

 

เช่น กรณีของ Shopify จะใช้ Shopify Payment กล่าวคือ ประเทศไหน ที่ใช้ Shopify Payment ส่วนมาก จะเป็น transaction fee 0% หรือไม่เก็บค่าธรรมเนียม เนื่องจากเขาได้ ค่าธรรมเนียมนี้ จาก ช่องทางชำระเงินของเขาเองอยู่แล้วครับ

มาต่อเรื่องภาษี ส่วนด้านการลงทุนหรือหุ้นปันผล หุ้นเติบโต ผมทำแบบนี้ครับ

ผมเปิดบริษัท ที่ประเทศไหนได้ ผมจะลงทุนต่อในประเทศนั้นๆ โดยคำนึงถึงภาษี และโอกาสในการเติบโต ในอนาคต 

เช่น ผมอาจจะ เอาเงิน เข้าไทย ในปีนั้นๆ ตามสรรพกรกำหนด ส่วนที่เป็นทุน คือ ต้องศึกษา ว่าอย่างไร คือ อาจเอากลับมาด้วย แล้วค่อย ลงใหม่ในปีต่อๆ ไป ก็ต้องศึกษาว่า กำไร กับ ทุน การเอากลับ จะมีภาษี อย่างไร เช่นกันครับ คือถ้าภาษีสูงไป ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ผมจะปล่อยมันคา ปล่อยมันโตไปเรื่อยๆ ที่ต่างประเทศ หรือ คาไว้ต่างประเทศครับ

ต้องยอมรับว่า การที่รัฐกำลัง ทำเรื่องภาษีให้จูงใจนักลงทุนชาวไทยจำนวนมากในประเทศของเรา ทั้งรายใหญ่ รายย่อย ที่เอาเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกา หรือประเทศอื่นๆ ตรงนี้ เป็นประโยชน์ มาก เนื่องจากในมุมของผมเอง ต้องการ สร้างหุ้นปันผล ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศอยู่แล้วครับ ซึ่งจะเอาเงินปันผล ที่ได้ กลับมาลงทุนกับหุ้นไทย หากไม่โดนภาษีโหดๆ ครับ เหมือนภาษี ที่เป็นตัวเดิม ที่ใช้อยู่จะโหดมากครับ ลองไปดูเรทกันดูครับ เลยทำให้จะเอาเงินกลับเข้ามา ต้องคิดหรือหาทางว่า เอากลับอย่างไร ให้ประหยัดภาษี 

 

คือเราไม่ได้เลี่ยงภาษีแบบผิดกฎหมาย ไม่ใช่ครับ แต่ต้องคิดครับ ตรงไหนประหยัดได้ ตรงไหนต้องจ่าย ตรงไหนลดหย่อนภาษีได้ เราต้องการทุน มาหมุนวน เพื่อดำเนินกิจการครับ

 

ในขณะนี้เอง ผมพยายามเก็บค่าใช้จ่าย ทุกบิล เป็นเอกสาร เพราะมันคือ ค่าใช้จ่ายหมด ที่ตัวเราต้องใช้ คือ สถานะ มัน ยังแยกส่วนตัวกับ นิติบุคคล ลำบากครับ พอเงินเอาเข้า บริษัท ถ้าเอาเข้าหมดเลย แล้ว ส่วนตัว มีค่าใช้จ่ายอยู่ ที่บางบิล ก็ยัง ใช้เป็นค่าใช้จ่ายบริษัทไม่ได้ครับ

เช่น สัญญา เช่าตึกแถว สองชั้น , ค่าน้ำ ค่าไฟ ของตึก, ค่าบ้าน คือ เป็นบ้านของตนเอง ก็จริง แต่ถ้าใช้ทำธุรกิจ เป็นโฮมออฟฟิสด้วย ตามหลักแล้ว บริษัท ก็ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน หรือ ค่าเช่าโฮมออฟฟิส ครับ และค่าทำงานในส่วนของประธานบริษัท คือผมเอง เปิดบริษัท มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ยังไม่ได้คิดค่าทำงานของประธานกรรมการ เลยครับ จริงๆ ประธานกรรมการต้องมี ค่าตอบแทน รายเดือนด้วยครับ 

ตอนนี้สถานะ ของบริษัท คือเป็นหนี้ ประธานกรรมการ เพราะเงินทั้งหมด คือ ประธาน ลงทุนเองทั้งหมดครับ เช่น บริษัท มีค่าใช้จ่าย 3-5 หมื่นประธานจ่ายเองหมดครับ แล้วมันเหมือน ประธานก็คือบริษัท ยังไงก็ไม่ทราบ คือเรารู้เรามีต้นทุนในแต่ละวันครับ คือเป็นบริษัท เล็กๆ อยู่ ก็จะมีเลี้ยงอาหารคนทำงาน นั่นนี่ คือ เป็นสิ่งที่ ทำเป็นปกติครับ โฮมสเตย์ ของเพื่อนผมก็เลี้ยงข้าวคนทำงาน ทุกมื้อ ครับ เพราะยังเล็กอยู่ แต่ถ้าเป็นบริษัท ใหญ่ขึ้นมา คงไม่มีบริษัท ไหน เลี้ยงอาหารคนทำงานทุกคนครับ แนวทางอาจจะเป็น มีคนทำงานส่วนหนึ่งที่เราเลี้ยงตลอด กับ อีกส่วนให้พวกเขาหาทานเองครับ แต่ตอนนี้มันยังเล็กๆ ก็ต้องดูแลคนทำงานดีๆ ครับ ถ้าทำงานดีๆ เดี๋ยวเขาไปทำที่อื่นครับ 

 

บริษัท ในประเทศไทย นี้ ที่ผมตั้งขึ้นมาคือ:

 

AI PAY Logo

 

บริษัท เอไอ เพย์ จำกัด (AI PAY Co., Ltd.) ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้: 


เลขทะเบียนนิติบุคคล: 0575568001206


วันที่จดทะเบียน: 10 มีนาคม 2568


ทุนจดทะเบียน: 100 บาท


ที่ตั้งสำนักงาน: 52 หมู่ที่ 15 ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 57120


ประเภทธุรกิจ: ให้บริการติดตั้งช่องทางชำระเงิน, เชื่อมต่อ, สนับสนุน และทำให้ใช้งานได้ (Payment Gateway Channel Setup, Integration, Support, and Implement) ทั้งในรูปแบบปกติทั่วไปและปัญญาประดิษฐ์ (AI)


หมวดธุรกิจ: การติดตั้งไฟฟ้า 


บริษัทนี้ยังคงมีสถานะ "ยังดำเนินกิจการอยู่" และมีข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ dataforthai 


หากคุณต้องการเอกสารรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลหรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทนี้ คุณสามารถดำเนินการผ่านเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ได้ดังนี้:


1. เข้าสู่เว็บไซต์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


2. เลือกเมนู "บริการออนไลน์" แล้วคลิกที่ "ค้นหาข้อมูลนิติบุคคล"


3. ป้อนชื่อบริษัทหรือเลขทะเบียนนิติบุคคลเพื่อค้นหาข้อมูล


4. หากต้องการขอหนังสือรับรองหรือเอกสารอื่น ๆ สามารถดำเนินการผ่านระบบ DBD e-Service


ข้อมูล วันที่ 26 พ.ค. 68

 

การให้บริการ:

บริษัท เอไอ เพย์ จำกัด ผู้ให้บริการที่ปรึกษาด้านช่องทางชำระเงิน (Payment Gateway Channel) Shopify, Wordpress, WooCommerce, Magento และระบบอื่นๆ 


เชื่อมต่อ QR code Promptpay, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, และ ธนาคารอื่นๆ 


ระบบผ่อนชำระ

ค้าขายกับประเทศจีน คนจีน Alipay


Wallet: True Money, Rabbit LINE Pay, และ WeChat pay.


Counter service: Tesco Lotus, Big C


Credit card: VISA, Master, และ Union pay.


อื่นๆ อีกมากมาย


โดยการมอบหมายให้ JadeCommerce หรือ Jade Commerce Center เป็นผู้ดูแลด้านที่ปรึกษา เชื่อมต่อ และสนับสนุน (Support)


LINE ID: @jadecommerce (มี @)

JadeCommerce

https://www.jadecommerce.center

https://hosting.jadewebtech.com

WhatsApp/Tel. +66815736943


Shopify, Wordpress, และ WooCommerce partner

 

LINE ID: @jadecommerce (มี @)

กลับไปยังบล็อก